การประเมินประเด็นความยั่งยืน

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน โดยตอบสนองต่อประเด็นความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าและคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงมีการทบทวนและพัฒนาประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มีความสอดคล้องกับความยั่งยืนในระดับประเทศและระดับโลก มุมมองจากอุตสาหกรรมใกล้เคียง ผ่านกระบวนการคัดเลือกประเด็นสำคัญจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงผู้เชี่ยวชาญภายนอก ซึ่งอ้างอิงมาตรฐานสากลของกรอบการรายงานความยั่งยืน (GRI Standard 2021) ดังนี้

ขั้นตอนการประเมินประเด็นความยั่งยืน

1. การวิเคราะห์ประเด็น

บริษัทฯ ทําการวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ครอบคลุมการดําเนินงานตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิตและการส่งมอบ การใช้สินค้าและบริการประกอบการวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

  • ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญ
    • ประเด็นสำคัญด้าน ESG ของอุตสาหกรรมที่บริษัทฯ เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์จากผู้ประเมินชั้นนำ เช่น S&P Global และ SET ESG Rating เป็นต้น
    • ประเด็นความสำคัญจากการสำรวจความพึงพอใจก่อนจัดกิจกรรม/โครงการ
    • เวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็น
  • การประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ
    • ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญตามการประเมินของการบริหารความเสี่ยงองค์กร
    • ประเด็นที่คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืนให้ความสำคัญและเป็นวาระประจำที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
    • ประเด็นที่บริษัทฯ ต้องปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงานผ่านการสำรวจความพึงพอใจและการประเมินผลการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของบริษัทฯ

2. การระบุประเด็น

บริษัทฯ กําหนดประเด็นความยั่งยืนที่เป็นปัจจัยสําคัญต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ และมีความสําคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยคํานึงถึงสถานการณ์ปัจจุบันครอบคลุมประเด็นใหม่ที่อาจเพิ่มขึ้นและปรับลดลําดับความสําคัญของประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้อง

3. การประเมินลําดับความสําคัญ

บริษัทฯ จัดเรียงลําดับความสําคัญของประเด็นความยั่งยืนจากผลการสํารวจความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผนวกกับความคาดหวังของบริษัทฯ ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ ตามลำดับ จำนวน 23 ประเด็น

4. การทบทวนและการรับรองผลการประเมิน

บริษัทฯ ได้มีการทบทวนประเด็นความยั่งยืนเมื่อปี 2565 โดยงดรายงาน 1 ประเด็น คือ “การบริหารจัดการภาวะวิกฤตจากสถานการณ์ COVID-19” เนื่องจากการแพร่ระบาดลดลงอย่างต่อเนื่อง คงเหลือประเด็นความยั่งยืนที่ต้องรายงานในปี 2566 จำนวน 23 ประเด็น ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ จำนวน 15 เป้าหมาย

บริษัทฯ นําประเด็นความยั่งยืนของบริษัทฯ จำนวน 23 ประเด็น นําเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืน/คณะผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อให้การรับรองผลการประเมินดังกล่าว และนำมากำหนดเป็นประเด็นความยั่งยืนขององค์กรในรายงานการพัฒนาความยั่งยืน ประจำปี 2566

แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้านเศรษฐกิจ ดําเนินธุรกิจให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจบนพื้นฐานของความพึงพอใจและผลประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (จำนวน 6 ประเด็น)

ด้านสังคม ดําเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม ดูแลรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมทั้งในพื้นที่บริการและนอกพื้นที่บริหาร (จำนวน 10 ประเด็น)

ด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งภายในกระบวนการผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาสมดุลระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (จำนวน 7 ประเด็น)