เศรษฐกิจ
บริษัทฯ ได้จัดทำจรรยาบรรณทางธุรกิจ เพื่อเป็นหลักการและแนวปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงได้จัดให้มีการสื่อสารและกิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีแก่พนักงาน โดยยึดหลักสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้แก่ ธรรมาภิบาลเป็นกรอบ รับผิดชอบโปร่งใส พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย
Responsibility : สำนึกต่อหน้าที่รับผิดชอบ
Responsibility : สำนึกต่อหน้าที่รับผิดชอบ
Accountability : รับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำ
Equitable Treatment : ปฏิบัติต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน
Transparency : โปร่งใส เปิดเผยข้อมูลและตรวจสอบได้
Promotion of Best Practice : การส่งเสริมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
มีกิจกรรมหลัก ดังนี้
  • การเผยแพร่ข้อมูลและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้แก่คณะกรรมการผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงข้อมูล ข่าวสาร ของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับมติคณะกรรมการและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้พนักงานในกลุ่มบริษัททราบผ่านทางระบบอินทราเน็ตขององค์กร
  • การรายงานการปฏิบัติของบริษัทฯ ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและข้อเสนอแนะให้คณะกรรมการบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบ
  • การจัดอบรมเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี เช่น การบรรยายและอบรมเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่พนักงานเข้าใหม่ของบริษัทฯ
คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯได้ปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและติดตามผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ไม่มีสถานการณ์ใดที่การปฏิบัติไม่เป็นไปตามนโยบาย จากความมุ่งมั่นดังกล่าวส่งผลให้ บริษัทฯ ได้รับรางวัลและการรับรองการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนี้
ผลการประเมิน การกำกับดูแลกิจการ โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
2560 2561 2562 2563
อยู่ในระดับดีมาก
อยู่ในระดับดีมาก
อยู่ในระดับดีเลิศ
อยู่ในระดับดีเลิศ
บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชันตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ซึ่งได้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 123/5 กําหนดความรับผิดสําหรับบุคคลที่ให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐบุคลากรทุกระดับของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม รวมถึงลูกจ้าง ตัวแทน บริษัทในเครือหรือบุคคลใดซึ่งกระทําการในนามของนิติบุคคล ไม่ว่าจะมีอํานาจหน้าที่ในการนั้นหรือไม่ก็ตาม จะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ได้กําหนดไว้ดังนี้
1. ปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันการให้หรือรับสินบน จรรยาบรรณธุรกิจ รวมทั้งกฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัทฯ โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2. ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยความโปร่งใส อันหมายรวมถึงการเตรียมความพร้อมรับการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่จากบริษัทฯ หรือบริษัทในกลุ่ม หรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา
3. ไม่กระทําการใดๆ ที่เป็นการแสดงถึงเจตนาว่าเป็นการทุจริตคอร์รัปชันการให้หรือรับสินบนแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัท ในเรื่องที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งทางตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แก่องค์กร ตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. ไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทําที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม โดยถือเป็นหน้าที่ที่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ
5. การจ่ายเงินหรือให้สิ่งของมีค่าหรือบริการ อาทิเช่น ของขวัญความบันเทิง การท่องเที่ยวแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลนั้นกระทําการหรือละเว้นกระทําการใดๆ อันเป็นการผิดกฎหมายเป็นการกระทําที่ไม่สมควรปฏิบัติอย่างยิ่ง ทั้งนี้ รวมถึงต้องไม่ส่งเสริมหรือมีส่วนร่วมให้บุคคลอื่นมีการกระทําดังกล่าวด้วย
บริษัทฯ ได้จัดทําคู่มือหลักการกํากับดูแลกิจการและจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ถูกต้องแก่คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ และมีการทบทวนหลักธรรมาภิบาล เพื่อการพัฒนาปรับปรุงการดําเนินงานด้านธรรมาภิบาลของบริษัทฯ ให้ได้ตามมาตรฐานซึ่งคณะทํางานได้ทบทวนแล้วพบว่าหลักธรรมาภิบาล ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและบรรษัทภิบาล เพื่อนํามากําหนดการกํากับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ในเรื่องการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน (Anti-Corruption) เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสําคัญและจริงจังกับการลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในประเทศ
บริษัทฯ มีการส่งเสริมความรู้ด้านการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล โดยจัดอบรมให้ความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เน้นการสร้างจิตสํานึกแก่พนักงานตั้งแต่เริ่มเข้างาน โดยจัดทําเล่มคู่มือการกํากับดูแลกิจการและจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจ เพื่อเป็นแนวทางการดําเนินงานด้านบรรษัทภิบาลของบริษัทฯ โดยทําการบรรจุเนื้อหาดังกล่าวไว้เป็นหัวข้อหนึ่งในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ รวมถึงการปรับเลื่อนระดับของบุคลากรปัจจุบัน ตลอดจนมีการสื่อสารผ่านช่องทางอีเมล พร้อมทั้งเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ หมวดด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี
การบริหารความเสี่ยงองค์กร
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ “เป็นบริษัทชั้นนำของประเทศในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม” ภายใต้ความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การบริหารจัดการความเสี่ยงถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจและการเติบโตของธุรกิจในอนาคต โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้กําหนดนโยบายบริหารความเสี่ยง ซึ่งนโยบายนี้มีผลบังคับใช้ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงานทุกท่านและมีการเผยแพร่ทางเว็บไซด์ของบริษัทฯ
โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงที่ดีจะทำให้กระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กรเป็นไปตามมาตรการที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันบริษัทฯ ได้กำหนดให้มีคณะเจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยงและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นผู้กำกับดูแลในเรื่องดังกล่าว โดยมีโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ดังแสดงข้อมูลตามแผนภาพด้านล่าง
การกำกับดูแล การติดตามตรวจสอบ การดำเนินงาน
คณะกรรมการบริษัทฯ
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและบรรษัทภิบาล
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- ผู้บริหารระดับฝ่ายขึ้นไป/ทีมงาน
- เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและบรรษัทภิบาล
- ผู้ตรวจสอบภายใน
ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ
1. ผลประกอบการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
ผลการดำเนินงานของบริษัทที่เข้าร่วมลงทุนต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ บริษัทฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมเป็นประจำทุกไตรมาส ซึ่งการประชุมคณะกรรมการแต่ละไตรมาสของบริษัทร่วมจะรายงานผลเกี่ยวกับการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และการบริหารความเสี่ยง โดยจะนำมาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานรวมของบริษัทฯ เพื่อจะได้บริหารความเสี่ยงในแต่ละด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อสถานะการณ์ บริษัทฯ ดำเนินการตรวจประเมินสถานะทางการเงินของบริษัทร่วมทุกไตรมาสและทุกสิ้นปีพบว่า บริษัทฯ มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง มีสภาพคล่องที่ดี มีผลการดำเนินงานเป็นบวกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีนโยบายที่จะลงทุนโดยยึดหลักดำเนินการอย่างระมัดระวังและสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ เพื่อไม่ให้ความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น
2. ความสามารถในการเพิ่มรายได้และการทำกำไรในอนาคตลดลง
สัญญาซื้อ-ขายน้ำประปาของบริษัท ประปาปทุมธานี จำกัด จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2566 บริษัทฯ จะต้องหาธุรกิจใหม่ที่สร้างรายได้ทดแทนธุรกิจเดิมที่จะสิ้นสุดสัญญาในอนาคต เนื่องจากรายได้จะลดลงในปี 2566 แนวทางการหาธุรกิจทดแทนบริษัทฯ จะต้องหาข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้น เพื่อจะได้มีแนวทางในการลงทุนหรืออาจจะต้องหาพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจ และต้องหาแนวทางในการลงทุนใหม่ในอนาคตเพื่อเสริมสร้างและหามาตรการในการลดผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านรายได้ขององค์กร
ความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
นอกจากความเสี่ยงในด้านเศรษฐกิจแล้ว บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของน้ำดิบที่บริษัทฯ นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำประปา อาทิเช่น การสูบน้ำดิบจากแหล่งน้ำผิวดินมาใช้ในการผลิตน้ำประปามากเกินไปอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรในช่วงหน้าแล้ง หรือ กระบวนการผลิตน้ำประปาต้องใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำหากสารเคมีรั่วไหลอาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนและพื้นที่บริเวณใกล้เคียง หรือ ถังน้ำใสที่จัดเก็บน้ำประปาแตกอาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายจากน้ำที่ไหลออกมากเกินความจำเป็น รวมทั้งประชาชนอาจจะได้รับความเดือดร้อนจากการไม่มีน้ำประปาใช้อุปโภคบริโภค ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไว้ทุกขั้นตอนที่คาดว่าจะเกิดผลกระทบดังกล่าว
การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การส่งมอบสินค้า การบริการ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- คู่ค้า/ผู้ส่งมอบ
- ชุมชน/สังคม
- พนักงาน
- ลูกค้า
- คู่ค้า/ผู้ส่งมอบ
- ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน
- ชุมชน/สังคม
- สิ่งแวดล้อม
- พนักงาน
- ลูกค้า
- ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน
- ชุมชน/สังคม
- ลูกค้า
- ชุมชน/สังคม
ประเด็นผลกระทบ
- สิทธิมนุษยชน
- การปฏิบัติที่เป็นธรรม
- การทุจริตคอร์รัปชั่น
- การร่วมพัฒนาคู่ค้า
- คุณภาพชีวิต
- สิทธิมนุษยชน
- การปฏิบัติด้านแรงงาน
- สุขภาพและความปลอดภัย
- การใช้พลังงานและทรัพยากร
- มลภาวะและการจัดการของเสีย
- การทุจริตคอร์รัปชั่น
- การเปิดเผยข้อมูล
- การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- สิทธิมนุษยชน
- การปฏิบัติด้านแรงงาน
- สุขภาพและความปลอดภัย
- การทุจริตคอร์รัปชั่น
- การเปิดเผยข้อมูล
- การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- ความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการ
- คุณภาพชีวิต
บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจโดยไม่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยมุ่งเน้นความร่วมมือกับคู่ค้าหลักเพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องตามจรรยาบรรณคู่ค้าของบริษัทฯ โดยประกาศนโยบายหลักที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้านจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้
  • นโยบายคัดกรอง และตรวจสอบคู่ค้า
  • นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริต การให้หรือรับสินบน
  • นโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย
บริษัทฯ ได้บริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าอย่างเป็นระบบ ดังแผนภาพด้านล่าง