คำถามที่พบบ่อย
เลือกหมวดหมู่ :
1. ประวัติการก่อตั้งของบริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) (“TTW”)

สืบเนื่องจากในบริเวณพื้นที่ 7 จังหวัด ซึ่งได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และสมุทรสาคร มีการการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในอัตราสูงกว่าอัตราการเกิดน้ำบาดาลตามธรรมชาติ จึงทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุดและน้ำเค็มเข้าแทรกในชั้นน้ำบาดาล การประปาส่วนภูมิภาค (“กปภ.” หรือ “PWA”) จึงจัดทำเป็นโครงการให้เอกชนเข้าลงทุน ทำการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาผิวดิน ซึ่งใช้น้ำดิบจากแม่น้ำ ในพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ คือจังหวัดนครปฐม และสมุทรสาคร โดยมีสัญญาซื้อขายน้ำประปาผูกพันเป็นระยะเวลา 30 ปี ในการนี้ TTW เป็นบริษัทที่ได้รับเลือกให้ดำเนินโครงการดังกล่าว

TTW เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำประปา ในบริเวณจังหวัดนครปฐม และสมุทรสาคร ให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) (คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพื่มเติม)

TTW PTW
ลูกค้า การประปาส่วนภูมิภาค (“กปภ.”) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
ระยะเวลาของสัญญา สัญญาซื้อขายน้ำประปา – 30 ปี (21 กรกฎาคม 2547 ถึง 20 กรกฎาคม 2577) สัญญา“งานจ้างเอกชนบริหารจัดการผลิตน้ำประปาและบำรุงรักษาเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนในพื้นที่ การประปาส่วนภูมิภาคสาขาปทุมธานี, สาขารังสิต (ชั้นพิเศษ), และสาขาคลองหลวง” ระยะเวลา 10 ปี (15 ต.ค. 2566 – 14 ต.ค. 2576)
ชนิดของสัญญา Build-Own-Operate (“BOO”) คือ ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในระบบผลิตและระบบจ่ายให้แก่ กปภ. เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง บริหารจัดการผลิตน้ำประปาและบำรุงรักษา (O & M)
พื้นที่ให้บริการ
  • จ.นครปฐม พื้นที่ อ.นครชัยศรี, อ.สามพราน และ อ.พุทธมณฑล
  • จ.สมุทรสาคร พื้นที่ อ.เมือง และ อ.กระทุ่มแบน
พื้นที่ปทุมธานี-รังสิต จังหวัดปทุมธานี
กำลังการผลิตสูงสุดปัจจุบัน TTW = 540,000 ลบ.ม./วัน PTW = 488,000 ลบ.ม./วัน
ปริมาณการรับซื้อน้ำขั้นต่ำ (MOQ) ที่ กปภ. ต้องรับซื้อจากบริษัทฯ 354,000 ลบ.ม./วัน (ข้อมูล ณ 29 ธ.ค. 2551) 358,000 ลบ.ม./วัน (ข้อมูล ณ 15 ต.ค. 2566)
สัมปทานประกอบกิจการประปา 25 ปี (เริ่มวันที่ 11 มีนาคม 2548 ถึง 10 มีนาคม 2573) จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25 ปี (เริ่มวันที่ 13 มกราคม 2543 ถึง 12 มกราคม 2568) จากกระทรวงมหาดไทย
หน่วยผลิตและซ่อมบำรุง บริษัท ไทยวอเตอร์ โอเปอเรชั่นส์ จำกัด (TWO) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TTW บริษัท ไทยวอเตอร์ โอเปอเรชั่นส์ จำกัด (TWO) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TTW
1. ปรับอัตราค่าน้ำประปา มีเงื่อนไขอย่างไร

ทุกเดือนมกราคมในแต่ละปี อัตราค่าน้ำประปาที่ TTW และ PTW ขายให้กับ กปภ. จะมีการปรับเปลี่ยนโดยใช้สูตรในการคำนวณดังต่อไปนี้

สำหรับ TTW

Pn+1 อัตราค่าน้ำประปา ณ วันที่ 1 มกราคม ในปีที่ n+1 หน่วยเป็น ลบ.ม. และต้องปัดเศษของทศนิยมตำแหน่งที่ 7 ทิ้ง
Pn อัตราค่าน้ำประปา ณ วันที่ 1 มกราคม ในปีที่ n และมีค่าเริ่มต้นจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542 เท่ากับ 13.900000 บาท / ลบ.ม.
CPIn-1 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคกลาง ที่ประกาศโดยกองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ สำหรับเดือนธันวาคม ณ ปีที่ n-1 และมีค่าเริ่มต้นสำหรับเดือนธันวาคม 2541 เท่ากับ 128.1
CPIn ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคกลางสำหรับเดือนธันวาคม ณ ปีที่ n (*)
K ค่าคงที่ในการปรับอัตราค่าน้ำประปา ค่าคงที่ (K) จะมีค่า
  สำหรับปีที่ 1 ถึงปีที่ 7 (พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2549) มีค่าเท่ากับ 1.03000
  สำหรับปีที่ 8 ถึงปีที่ 10 (พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2552) มีค่าเท่ากับ 1.02500
  สำหรับปีที่ 11 ถึงปีที่ 14 (พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2556) มีค่าเท่ากับ 1.01000
  สำหรับปีที่ 15 (พ.ศ. 2557) เป็นต้นไป มีค่าเท่ากับ 1.00000

(*) หากในเดือนธันวาคมของปีใดๆ (n) ค่า CPI ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ในการคำนวณอัตราค่าน้ำประปา (1 มกราคมของปีที่ n+1) แล้ว อัตราค่าน้ำประปาของเดือนในปีถัดไปจะใช้อัตราค่าน้ำประปาของปีก่อนจนกระทั่งค่าดัชนี (CPI) ถูกประกาศใช้และจะต้องนำค่าดัชนี (CPI) มาคำนวณ อย่างไรก็ตาม หากมีการคำนวณปรับค่าอัตราค่าน้ำประปาได้ตามที่ควรจะเป็นแล้ว อัตราค่าน้ำประปาในแต่ละเดือนจะถูกปรับให้เท่ากับเดือนนั้นๆ โดยผู้ซื้อต้องชำระชดเชยส่วนที่ขาด นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของปีที่ n+1 จนถึงวันที่ได้ปรับอัตราค่าน้ำประปานั้น มูลค่าของการปรับชดเชยอัตราค่าน้ำประปานี้เท่ากับปริมาณน้ำประปาที่ได้รับในปีที่ n+1 ณ อัตราค่าน้ำประปาเท่ากับ Pn คูณด้วยผลต่างอัตราค่าน้ำประปาของ Pn กับ Pn+1


สำหรับ PTW

BWCi+1 อัตราค่าน้ำประปา ณ วันที่ 1 มกราคม ในปีที่ i+1
BWCi อัตราค่าน้ำประปา ณ วันที่ 1 มกราคม ในปีที่ i
CPIi ดัชนีราคาผู้บริโภคของทั่วประเทศ ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์ สำหรับเดือนกรกฎาคม ณ ปีที่ i
CPIi-1 ดัชนีราคาผู้บริโภคของทั่วประเทศ ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์ สำหรับเดือนกรกฎาคม ณ ปีที่ i-1
CPI ดัชนีราคาผู้บริโภคของทั่วประเทศ ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์ สำหรับเดือนกรกฎาคม
i ปีก่อนหน้าปีที่จะมีการปรับราคาค่าจ้างผลิตน้ำประปา เริ่มจากปี 2567

*ในกรณีผลิตน้ำประปาเกินกว่าปริมาณน้ำขั้นต่ำ (MOQ) ค่าจ้างผลิตจะลดลงจากค่าจ้างผลิตในปีนั้น 0.44 บาท/ลบ.ม.

ค่าคงที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยกำหนดขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า อัตราค่าน้ำประปาจะมีการปรับขึ้นในช่วงปีแรกๆ ของการดำเนินกิจการซึ่งมีความเสี่ยงสูง เนื่องมาจากเป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

ปีที่ 1 ถึงปีที่ 7 (พ.ศ. 2543 – 2549) = 1.03000

ปีที่ 8 ถึงปีที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2552) = 1.02500

ปีที่ 11 ถึงปีที่ 14 (พ.ศ. 2553 – 2556) = 1.01000

ปีที่ 15 (พ.ศ. 2557) เป็นต้นไป = 1.00000

PTW ทำสัญญาซื้อขายน้ำกับกปภ. ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจดำเนินไปตามปกติ การคำนวณค่าน้ำจึงคำนวณโดยใช้ค่า CPI เท่านั้น

TTW ปริมาณน้ำประปาที่ขายไม่เกิน 300,000 ลบ.ม./วัน คิดราคา 31.23 บาท/ลบ.ม.

TTW ปริมาณน้ำประปาที่ขายเกิน 300,000 ลบ.ม./วัน คิดราคา 13.03 บาท/ลบ.ม.

PTW ปริมาณน้ำประปาที่ขายไม่เกิน 358,000 ลบ.ม./วัน คิดราคา 6.50 บาท/ลบ.ม.

PTW ปริมาณน้ำประปาที่ขายเกิน 358,000 ลบ.ม./วัน คิดราคา 6.06 บาท/ลบ.ม.

(ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค. 2567)

1. ต้นทุนการผลิตของบริษัทฯ มีอะไรบ้าง

ต้นทุนหลักๆ ในการดำเนินงานของบริษัทฯ มี 5 รายการ คิดเป็นสัดส่วนโดยประมาณดังตาราง

TTW - 2565 PTW - 2565
ค่าเสื่อมราคา 48% 63%
ค่าไฟฟ้า 31% 24%
ค่าสารเคมี 6% 3%
ค่าเช่าที่ดิน 4% -
อื่นๆ 11% 10%

*หมายเหตุ - ค่าเฉลี่ยสำหรับปี 2565

ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เพราะต้องใช้สารเคมีมากขึ้นในการผลิตน้ำประปา อย่างไรก็ตาม ในสัญญาซื้อขายน้ำระหว่างบริษัทฯ กับ การประปาส่วนภูมิภาคได้มีการกำหนดไว้ว่า หากน้ำดิบมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานมาก บริษัทฯ สามารถเรียกร้องค่าชดเชยจากการประปาส่วนภูมิภาคสำหรับค่าใช้จ่ายด้านสารเคมีที่เพิ่มขึ้นได้

1. บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (“อีสท์ วอเตอร์”) เป็นคู่แข่งของบริษัทฯ หรือไม่

ไม่ใช่ เนื่องจาก อีสท์ วอเตอร์ มีธุรกิจหลักคือ การส่งจ่ายน้ำดิบโดยนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำไปจ่ายให้นิคมอุตสาหกรรม

นอกเหนือจาก กปภ. แล้ว บริษัทฯ ไม่มีคู่แข่งทางตรงที่มีศักยภาพเท่าเทียมกัน ภายในพื้นที่ให้บริการ คู่แข่งของบริษัทฯ คือ ผู้ผลิตน้ำประปารายย่อย เช่น อบต. อบท. และ หมู่บ้าน ซึ่งสูบน้ำบาดาลขึ้นมาจ่ายให้ประชาชนในบริเวณพื้นที่ของตัวเอง

1. ความเสี่ยงที่จะไม่ได้ปรับขึ้นอัตราค่าน้ำประปามีหรือไม่ เนื่องจากขณะนี้อัตราเงินเฟ้อค่อนข้างสูง

ในสัญญาซื้อขายน้ำระหว่าง กปภ. และบริษัทฯ ระบุไว้อย่างชัดเจนในเรื่องการปรับราคาค่าน้ำประปารายปี รวมทั้งไม่มีการระบุเงื่อนไขอื่นใดที่จะทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถปรับค่าน้ำประปาได้

1. กปภ. คือ ใคร

รัฐวิสาหกิจที่ทำหน้าที่ ผลิต จัดส่ง และจำหน่ายน้ำประปาทั่วประเทศ ยกเว้นในเขตจังหวัด กรุงเทพฯ นนทบุรี และ สมุทรปราการ ทั้งนี้รวมถึงการสำรวจ และจัดหาแหล่งน้ำดิบที่จะนำมาผลิตน้ำประปาด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.pwa.co.th/contents/about/duty-vision

กปภ. ใช้นโยบายในการคิดอัตราค่าน้ำเป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศแม้ว่าต้นทุนการผลิตของกปภ. เอง จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตาม กปภ. แบ่งประเภทของลูกค้าออกเป็น 3 ประเภท คือ ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม โดยคิดค่าน้ำในอัตราก้าวหน้า กล่าวคือ ราคาค่าน้ำต่อลูกบาศก์เมตรในแต่ละช่วงปริมาณการใช้น้ำจะไม่เท่ากัน โดยการใช้น้ำในปริมาณมากจะเสียค่าน้ำต่อลูกบาศก์เมตรสูงกว่าการใช้น้ำในปริมาณน้อย

อัตราค่าน้ำขั้นต่ำในปัจจุบัน

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://www.pwa.co.th/contents/service/table-price

1. นโยบายการจ่ายเงินปันผล

บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) มีแนวทางที่ชัดเจน และเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลไว้ดังนี้

ในการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทฯ จะพิจารณาถึงความต้องการใช้เงินตามเป้าหมายของบริษัทฯ ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า รวมถึงการรักษาระดับอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการเงินของบริษัทฯ ที่อาจจะเกิดขึ้น ในกรณีที่บริษัทฯ เห็นว่าสามารถที่จะจ่ายเงินปันผลได้ บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราสูงสุดเท่าที่เงินสดและกระแสเงินสดจะอำนวยเป็นลำดับแรก ทั้งนี้ จะไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล สำรองตามกฎหมาย และสำรองอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขของสัญญาต่างๆ