คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้มี “คู่มือจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี หรือ แบบ 56-1” ให้แก่บริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน เพื่อใช้ในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอย่างถูกต้องและครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจของนักลงทุน รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หรือ ESG

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจคำนึงถึง ESG (Environmental, Social, and Governance) ซึ่งจะช่วยยกระดับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว ทำให้ธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตและสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่นักลงทุน

  1. SET ESG Ratings
    บริษัทฯ เข้าร่วมประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หรือ ESG ของ ตลท. อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองเป้าหมายด้านความยั่งยืนองค์กรและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) โดยมีความสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ ตลท. และ S&P Global เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้าน ESG ของแต่ละบริษัทที่มีการประเมินด้าน ESG รวมถึงดัชนีด้าน ESG เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจสำหรับนักลงทุน
  2. โครงการ ESG DNA สำหรับพนักงานองค์กร

    เมื่อปี 2566 บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการ ESG DNA สำหรับพนักงานองค์กร ของ ตลท. เพื่อสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนนำความรู้ด้านความยั่งยืน ครอบคลุมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ยกระดับการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร โดยการปูพื้นฐานให้พนักงานเข้าใจหลักการทำงานแบบ ESG (Environmental, Social, and Governance) การปลูกฝัง DNA ด้านความยั่งยืนให้กับพนักงานในองค์กรสามารถนำไปต่อยอดต่อการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงาน และการตอบแบบประเมินรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment หรือ THSI) โดยอบรมผ่านระบบ SET E-Learning

    บริษัทฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นพนักงานสำนักงานใหญ่ 50 คน โดยอบรมหลักสูตรพื้นฐานด้าน ESG จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร ESG 101 และ หลักสูตร P 01 ผ่านระบบ SET E-Learning ซึ่งผู้เข้าอบรมที่มีผลคะแนนจากการสอบแต่ละหลักสูตร ร้อยละ 70 ขึ้นไปจะได้รับใบประกาศนียบัตรจาก ตลท. ที่ผ่านมา พนักงานของบริษัทฯ ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมหลักสูตร ESG 101 และ P 01 และทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย

    นอกจากนี้ ในปี 2567 บริษัทฯ ได้ส่งมอบชุดความรู้ด้านความยั่งยืนหลักสูตรอื่นๆ ของ ตลท. ให้แก่หน่วยงานภายในองค์กรนำไปใช้พัฒนาทักษะความรู้เพิ่มเติมแก่พนักงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

  3. การสนับสนุนการเข้าร่วมประเมินด้านความยั่งยืนสากลของ S&P Global

    เมื่อปี 2566 บริษัทฯ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประเมินด้านความยั่งยืน CSA 2023 จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยได้รับการสนับสนุนความรู้และเทคนิคในการตอบแบบ CSA จาก ตลท. ร่วมกับที่ปรึกษา บ. ERM เป็นปีแรก ส่งผลให้ผลคะแนนดีขึ้น โดยการเข้าร่วมโปรแกรม Coaching ความรู้ด้าน ESG ที่เป็นแนวทางของ S&P Global เพื่อนำไปสู่การตอบแบบ CSA ให้ตรงประเด็นและครบถ้วนตามที่ S&P Global คาดหวัง รวมถึงการร่วมวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap) การตอบแบบประเมิน CSA ภายหลังที่ได้รับผลคะแนนแล้ว เพื่อดำเนินการปิด Gap ดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  4. ส่งเสริมทักษะความรู้ด้าน ESG
    ตลท. สนับสนุนและส่งเสริมทักษะความรู้ด้าน ESG ให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่สนใจรับบริการความรู้และหลักสูตรอบรมด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ในปัจจุบันได้ให้บริการรูปแบบ SET E-Learning เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้สนใจมากขึ้น ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรด้าน ESG ทั้งรูปแบบ Online และ Offline อย่างต่อเนื่อง
สถาบันไทยพัฒน์

สถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ และเป็นผู้จัดทำข้อมูลบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) 100 อันดับ หรือ ที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 สำหรับใช้เป็นดัชนีเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน (Benchmark Index) และสามารถใช้เป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับการลงทุน (Investable Index) ในผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับหลักทรัพย์คุณภาพที่ผ่านเกณฑ์ด้าน ESG

  1. Sustainability Disclosure Community
    สถาบันไทยพัฒน์ ได้มีการจัดตั้งประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน หรือ “Sustainability Disclosure Community” หรือ SDC เพื่อช่วยองค์กรยกระดับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งร่วมตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG Target 12.6 ตั้งแต่ปี 2562 นอกจากนี้ ได้มีการประเมินสถานะการเปิดเผยข้อมูลขององค์กรสมาชิก เพื่อมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนประจำปี โดยมีการพิจารณารางวัลทั้งสิ้น 3 ประเภท ได้แก่
    • รางวัลเกียรติคุณ (Sustainability Disclosure Award)
    • ประกาศเกียรติคุณ (Sustainability Disclosure Recognition)
    • กิตติกรรมประกาศ (Sustainability Disclosure Acknowledgemen

    บริษัทฯ ได้เข้าร่วมประเมินการเปิดเผยข้อมูลขององค์กรกับสถาบันไทยพัฒน์อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลขององค์กร ประเภท “เกียรติคุณ” หรือ Sustainability Disclosure Award ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5

  2. จัดงานแถลงข่าวทิศทาง CSR ประจำปี
    สถาบันไทยพัฒน์ จัดงานแถลงทิศทาง CSR เป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินทิศทางธุรกิจและนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานที่เป็นบวกต่อสังคม ซึ่งบริษัทฯ เข้าร่วมงานแถลงข่าวทิศทาง CSR ของสถาบันไทยพัฒน์ทุกปี เพื่อรับทราบสถานการณ์ปัจจุบันด้าน ESG รวมถึงแนวทางการดำเนินงานด้าน ESG ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียม
  3. ส่งเสริมทักษะความรู้การเขียนรายงานด้านความยั่งยืน
    สถาบันไทยพัฒน์ ส่งเสริมทักษะความรู้การเขียนรายงานด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยการจัดหลักสูตรการเขียนรายงานด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล GRI (Global Reporting Initiative) เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนและองค์กรต่างๆ ได้เข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะความรู้การเขียนรายงานด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล GRI อย่างถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพัฒนาทักษะความรู้การเขียนรายงานด้านความยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กรในรูปแบบรายงานอยู่เสมอ
  4. การพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการและฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพ (Resilience) ของภาคธุรกิจหลังภาวะวิกฤตที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
    บริษัทฯ ร่วมกับ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการและฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพของภาคธุรกิจหลังภาวะวิกฤตที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยกิจการให้สามารถนำข้อปฏิบัติด้านวัฒนธรรมสุขภาพ จำนวน 16 ข้อ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ ด้านนวัตกรรมและสวัสดิการ ด้านแรงงานและสถานประกอบการ และด้านชุมชน มาเป็นปัจจัยนำเข้าในการวิเคราะห์ สารัตถภาพ (Materiality Analysis) เพื่อใช้กำหนดประเด็นสาระสำคัญด้านวัฒนธรรมสุขภาพที่องค์กรควรดำเนินการ
S&P Global

เป็นผู้ให้บริการข้อมูลด้านการเงินและการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก โดยบริษัทที่มีผลคะแนนผ่านเกณฑ์จะได้รับการประกาศใน “The Sustainability Yearbook” ที่ผ่านมา บริษัทในประเทศไทยติดอันดับด้านความยั่งยืน (S&P Global Sustainability Awards) ของ S&P Global มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

บริษัทฯ ได้เข้าร่วมประเมินความยั่งยืนสากลของ S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยได้รับผลคะแนนดีขึ้นตามลำดับ เมื่อปี 2566 บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโปรแกรม Coaching ความรู้ด้าน ESG จาก ตลท.และที่ปรึกษา บ. ERM เป็นปีแรก เพื่อนำไปสู่การตอบแบบ CSA ให้ตรงประเด็นและครบถ้วนตามที่ S&P Global คาดหวัง รวมถึงการร่วมวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap) ผลการตอบแบบประเมิน CSA เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รายงานสรุปการวิจัยการพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการและฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพ

Download