ประเด็นความยั่งยืนกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
การดำเนินงานตามแนวทางข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact)

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนข้อตกลงระดับโลกของสหประชาชาติ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานการตามหลักการความยั่งยืนแบบสากล เพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ นั่นคือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN SDGs) ซึ่งบริษัทฯ ได้นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร

การวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืน

บริษัทฯ ประเมินและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่บริษัทฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญร่วมกัน โดยพิจารณาร่วมกับปัจจัยความเสี่ยงตลอดห่วงโซ่อุปทาน อ้างอิงตามกรอบการรายงานความยั่งยืนสากล GRI (Global Reporting Initiative) ฉบับ GRI Standard 2021 ในปี 2566 บริษัทฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญร่วมกันต่อประเด็นความยั่งยืน จำนวน 23 ประเด็นความยั่งยืน

บริษัทฯ ได้นำประเด็นความยั่งยืนดังกล่าวมาวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสขององค์กร โดยเชื่อมโยงความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งประเด็นความยั่งยืนมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 15 เป้าหมาย จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยมีเป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและการสุขาภิบาลที่ยั่งยืน (Clean water and sanitation) ส่วนเป้าหมายที่เหลือเป็นพันธกิจรองที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

มิติ จำนวนประเด็นความยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
มิติเศรษฐกิจ 6
มิติสังคม 10
มิติสิ่งแวดล้อม 7
รวม 23 15
มิติเศรษฐกิจ (6 ประเด็นความยั่งยืน)

1. ผลประกอบการที่ดี

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
นโยบายและกลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจและด้านการพัฒนาความยั่งยืน ทบทวนนโยบายและกลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจและด้านการพัฒนาความยั่งยืน การดำเนินธุรกิจสัมปทานน้ำประปาที่มีลูกค้าเพียงรายเดียว นโยบายรัฐบาลสนับสนุนให้มีการใช้น้ำประปาแทนการใช้น้ำบาดาล
การบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทบทวนเป้าหมายการจ่ายน้ำประปา ความต้องการใช้น้ำประปาของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2. การกํากับดูแลกิจการที่ดี

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
นโยบายการดําเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ความโปร่งใส การรายงาน และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ทบทวนนโยบายการกํากับดูแลกิจการ พัฒนาการกํากับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากบริษัทฯ ปรับตัวช้าอาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในอนาคต การมีหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี ความโปร่งใส การบริหารจัดการความเสี่ยงครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของบริษัทฯ ย่อมส่งผลต่อความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืนในอนาคต
ดําเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
ถ่ายทอดความรู้ด้านจรรยาบรรณการดําเนินธุรกิจแก่พนักงานทุกระดับ
เผยแพร่ความรู้ด้านจรรยาบรรณการดําเนินธุรกิจบนเว็บไซต์
รายงานผลการกํากับดูแลกิจการแก่คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและบรรษัทภิบาล

3. การบริหารความเสี่ยงและความต่อเนื่องทางธุรกิจ

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
บริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการป้องกันการเกิดเหตุและการระงับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้ธุรกิจดําเนินไปได้อย่างไม่หยุดชะงัก ทบทวนการประเมินความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ปัจจุบันมีความเสี่ยงใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่คาดเดาได้ยาก อาจส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ การบริหารจัดการความเสี่ยงครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ลดลงหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
ทบทวนความเสี่ยงใหม่ขององค์กร (Emerging Risk)
จัดอบรมหลักสูตรด้านการบริหารความเสี่ยง
ซ้อมแผนฉุกเฉินตามแผนที่วางไว้
รายงานผลการบริหารความเสี่ยงแก่คณะเจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและบรรษัทภิบาลตามวงรอบที่กําหนด

4. บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
บริหารจัดการและ วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านกระบวนการจัดซื้อ รวมถึงการประเมินคู่ค้าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จัดซื้อจัดจ้างภายใต้ข้อตกลงอย่างเป็นธรรม หากบริษัทฯ ไม่สามารถบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าของคู่ค้ารายสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ หากบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าของคู่ค้ารายสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ลดลงหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
มีส่วนร่วมกับคู่ค้าเพื่อพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า และบริษัทฯ ควบคู่กัน รวมถึงการหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ จัดทําโครงการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จัดทําแผนสํารองและเพิ่มความเข้มงวดในการจัดส่งสินค้าและหาช่องทางการจัดส่งสินค้าที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต รวมถึงจัดหาแหล่งสินค้าทดแทนใหม่ หากเกิดเหตุการณ์ที่คู่ค้ารายเดิมไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้

5. ความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการ

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
ความรับผิดชอบในการผลิตสินค้าและบริการที่มี คุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับแก่ลูกค้า การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า และการประเมินผลกระทบจากสินค้าและบริการของบริษัทฯ ผลิตและจ่ายน้ำประปาแก่ลูกค้าตามมาตรฐานคุณภาพ มีความเพียงพอ และมีความต่อเนื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบัน รวมถึงการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ส่งผลให้การดําเนินธุรกิจในรูปแบบเดิมล้าสมัย สินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและลูกค้ามีความพึงพอใจในการใช้สินค้าและบริการ ส่งผลให้องค์กรเป็นที่ยอมรับและได้เปรียบคู่แข่งขัน
ให้คําปรึกษาและประชุมหารือการทํางานร่วมกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
จัดหลักสูตรอบรมพัฒนาทักษะแก่ลูกค้า
สนับสนุนกิจกรรมสัมพันธ์แก่ลูกค้า

6. นวัตกรรมและเทคโนโลยี

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทํางาน และการส่งเสริมนวัตกรรมขององค์กร จัดอบรมพัฒนาทักษะด้านไคเซ็น (Kaizen) ทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ ความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ส่งผลให้สังคมโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมาเกิดความล้าสมัย มีการแข่งขันและความไม่แน่นอนสูง การเป็นผู้นําทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดความมั่นคงในการดําเนินธุรกิจและเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต
ถ่ายทอดองค์ความรู้ (Knowledge transfer) และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ผ่านโครงการไคเซ็น (Kaizen หรือโครงการ Exchange Program)
ปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำประปาแบบไฮบริด (Hybrid) เกิดจากการผสมผสานระหว่างระบบการผลิตน้ำประปาแบบ Conventional และระบบเมมเบรน
นําเทคโนโลยีเมมเบรนมาใช้ในการผลิตน้ำประปาซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถกรองเชื้อโรค ประเภทไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
มิติสังคม (10 ประเด็นความยั่งยืน)

1. การดูแลพนักงานและพัฒนาบุคลากร

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
บริหารจัดการบุคลากรแรงงานสัมพันธ์ การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพนักงาน ทบทวนกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน การแข่งขันอย่างรุนแรงของธุรกิจในปัจจุบัน รวมถึงความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความรู้และทักษะของพนักงานพัฒนาไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆแก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้พนักงานมีความรู้และทักษะรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ทบทวนกระบวนการพิจารณาค่าตอบแทน
จัดทําแผนพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
จัดทําแผนการฝึกอบรมแก่พนักงานทุกระดับ
พิจารณาคัดเลือกบุคลากรภายในก่อนมีการสรรหาบุคลากรจากภายนอก
จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ
สํารวจความพึงพอใจพนักงาน

2. ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
ดูแลสุขภาพที่ดีของพนักงาน ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมที่ดีในการทํางาน ทบทวนนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แนวโน้มสุขภาพที่ดีของพนักงานที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ รวมถึงความปลอดภัยในการทํางานของพนักงานและคู่ค้า อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการ ดําเนินงานของบริษัทฯ การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยในการทํางาน ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานร่วมกันและกลายเป็นมาตรฐานความปลอดภัยของบริษัทฯ
จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจําปีแก่พนักงาน และเพิ่มการตรวจสุขภาพรายการพิเศษสําหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและผู้มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป
ประเมินปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน เช่น แสง เสียง ฝุ่นละออง มลพิษ เป็นต้น
อบรมพัฒนาความรู้ด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
ทําการซักซ้อมตามแผนฉุกเฉิน เพื่อเตรียมการรับมือในสถานการณ์วิกฤตอย่างสม่ำเสมอ
ทบทวนความเสี่ยงและเหตุการณ์ฉุกเฉินในกระบวนการทํางานเป็นประจําทุกปี

3. การดูแลสังคมและชุมชน

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน การช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน การให้ความรู้ การสร้างรายได้ รวมถึงการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนในโรงเรียนพื้นที่บริการที่มีความขาดแคลน การดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในพื้นที่ต่างๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง รวมถึงความ คาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมที่เพิ่มขึ้นต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ใช้ความรู้ความสามารถของบริษัทฯ มาพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบที่สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ผสมกับตะกอนแก่โรงเรียนในพื้นที่ประกอบธุรกิจ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการอนุรักษ์น้ำแก่โรงเรียนและชุมชน
ร่วมแก้ไขปัญหาสังคมในยามวิกฤต

4. การให้ความช่วยเหลือและการบริจาคเพื่อสังคม

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
การสนับสนุนกิจกรรมด้านดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการช่วยเหลือแบ่งปันในช่วงวิกฤต ผลิตและสนับสนุนน้ำดื่มบรรจุขวดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำไปใช้ในกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม หากบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว โดยไม่แสดงความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลสังคมและชุมชนในพื้นที่ ย่อมส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีและความร่วมมือของชุมชนในอนาคต หากบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการแสดงความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลสังคมและชุมชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ย่อมส่งผลให้เกิดความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนจากสังคมและชุมชนในพื้นที่
สนับสนุนงบประมาณแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใช้ในกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม
สนับสนุนกิจกรรมด้านพระพุทธศาสนาและอนุรักษ์ขนบประเพณีไทยอันดีงาม

5. บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการและผู้บริหารด้านสิทธิมนุษยชน

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
การกำกับดูแลกระบวนการเคารพสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและด้านแรงงาน

กำหนดแนวทางปฏิบัติกระบวนการเคารพสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไว้ให้กับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ได้ยึดถือปฏิบัติ
ปัจจุบันกระแสการเคารพด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกตระหนักและให้ความสำคัญ หากบริษัทฯ มีการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและชื่อเสียงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมแก่ทุกภาคส่วน ส่งผลให้ธุรกิจมีความยั่งยืน

6. การจ้างงานและการเคารพด้านสิทธิมนุษยชน

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
สิทธิในคุณภาพชีวิตที่ดี นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับพนักงาน พนักงานอาจร้องเรียนบริษัทฯ ประเด็นการถูกละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและชื่อเสียงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมแก่ทุกภาคส่วน ส่งผลให้ธุรกิจมีความยั่งยืน
สิทธิในความเท่าเทียม ไม่มีการจ้างงานแรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี พนักงานมีขวัญกำลังใจที่ดีส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น
สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่มีการจ้างงานแรงงานบังคับ
การคุ้มครองสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล ไม่มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย
ไม่ให้พนักงานหญิงที่มีครรภ์ทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายตามที่กฎหมายกำหนด
สนับสนุนไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนการจ้างงานในทุกกรณี

7. การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
บริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ กำหนดแนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากบริษัทฯ ไม่มีมาตรการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมแก่ทุกภาคส่วน ส่งผลให้ธุรกิจมีความยั่งยืน
กำหนดมาตรการลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งผลให้ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ลดลงหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

8. การบริหารจัดการข้อร้องเรียนและการเยียวยาด้านสิทธิมนุษยชน

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
บริหารจัดการข้อร้องเรียนและการเยียวยาด้านสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดช่องทางและกระบวนการรับเรื่องการแจ้งเบาะแส และการร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนที่พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ หากบริษัทฯ ไม่มีมาตรการจัดการข้อร้องเรียนและการเยียวยาด้านสิทธิมนุษยชนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและชื่อเสียงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมแก่ทุกภาคส่วน ส่งผลให้ธุรกิจมีความยั่งยืน
จัดให้มีกลไกในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและผู้ถูกร้องเรียน ลดความขัดแย้งระหว่างบริษัทฯ กับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การเก็บข้อมูลการแจ้งเบาะแสเป็นความลับ
กำหนดให้มีการพิจารณาบทลงโทษหากผู้ถูกร้องเรียนมีความผิดจริงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบ หลักสิทธิมนุษยชน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

9. ความร่วมมือกับคู่ค้าด้านสิทธิมนุษยชน

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
การดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าอย่างเป็นธรรม นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับคู่ค้า หากบริษัทฯ มีการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนกับคู่ค้า อาจได้รับข้อร้องเรียนจากคู่ค้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อความร่วมมือและความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้รับความร่วมมือและความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้า
การคุ้มครองสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้า ผลักดันและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนร่วมกับคู่ค้า

10. การสื่อสารและอบรมด้านสิทธิมนุษยชน

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
สร้างความตระหนักและส่งเสริมการเรียนรู้ รวมถึงการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน ทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและด้านแรงงาน หากพนักงานไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างถูกต้อง และนำไปปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจนได้รับความเสียหาย อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและชื่อเสียงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมแก่ทุกภาคส่วน ส่งผลให้ธุรกิจมีความยั่งยืน
สื่อสารและประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านสิทธิมนุษยชนแก่พนักงานและผู้เกี่ยวข้อง พนักงานมีความตระหนักและความรู้ความเข้าใจในการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างถูกต้อง
อบรมหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนแก่พนักงานและผู้เกี่ยวข้อง
มิติสิ่งแวดล้อม (7 ประเด็นความยั่งยืน)

1. กระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
บริหารจัดการกระบวนการผลิตสินค้าและบริการของบริษัทฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผลิตน้ำประปาแบบไม่สูญเสียน้ำ ระบบ Zero Discharge ข้อตกลงปารีสในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ทุกองค์กรทั่วโลกตื่นตัวในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงาน ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จัดทํา Solar Rooftop และ Floating Solar Cell รวมถึงลดการใช้พลังงานไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาของเสียให้เป็นผลิตภัณฑ์
จัดทําโครงการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพน้ำดิบ
การนําเทคโนโลยีเมมเบรนมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำประปา
การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ
การดำเนินงานตามระบบมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมระบบ ISO 14001:2015

2. การบริหารจัดการน้ำ

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
บริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตน้ำประปาอย่างคุ้มค่า และการดูแลฟื้นฟูคุณภาพน้ำร่วมกับชุมชนและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นําน้ำเหลือทิ้งจากขั้นตอนการรีดตะกอนกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำประปาใหม่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ปริมาณน้ำในเขื่อนและแหล่งน้ำธรรมชาติลดลง หรือคุณภาพน้ำดิบเสื่อมโทรม อาจส่งผลต่อการผลิตน้ำประปาของบริษัทฯ บริษัทฯ ยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการน้ำอย่างครบวงจร โดยการพัฒนาแหล่งต้นน้ำ ส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำ และรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแบบบูรณาการ เพื่อลดความเสี่ยงการขาดแคลนแหล่งน้ำและคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
จัดทําโครงการตอบสนองความต้องการใช้น้ำประปาแก่ประชาชน ร่วมกับ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงน้ำประปาที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึง
รณรงค์ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อดูแลแหล่งน้ำและคุณภาพน้ำของแม่น้ำท่าจีนและคูคลองในพื้นที่บริการ
ดูแลและเฝ้าระวังแหล่งน้ำร่วมกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
จัดทำโครงการฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองบางซื่อ เพื่ออนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน

3. การจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
บริหารจัดการของเสียไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทําการคัดแยกขยะออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะ Recycle และขยะเป็นพิษ การเติบโตของเมืองและอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดของเสียและวัสดุเหลือใช้ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดแคลนทรัพยากร บริษัทฯ ร่วมกับ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทําการวิจัยและพัฒนาตะกอน เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ โดยการเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียร่วมกับการบริหารจัดการของเสียตามหลักการ 3Rs และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปช่วยเหลือชุมชนและสังคมในพื้นที่บริการ
การเพิ่มมูลค่าของเสีย เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม/สิ่งแวดล้อม สำนักงานใหญ่ทำการคัดแยกขยะที่เป็นเศษอาหารออกจากขยะทั่วไป เพื่อนำมาทำปุ๋ยหมักจากเครื่องกำจัดเศษอาหารอัตโนมัติ
ติดตามผลโครงการปุ๋ยหมัก รักษ์ดิน รักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 4 และโรงเรียนวัดสุขวัฒนาราม จังหวัดนครปฐม
เข้าร่วมโครงการแยกขยะ ของ ตลท. โดยมีแผนดำเนินงานในปี 2567

4. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอนุรักษ์พลังงาน

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
บริหารจัดการการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ จัดทําโครงการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อตกลงปารีสในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ทุกองค์กรทั่วโลกตื่นตัวในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงาน บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ โดยการกำหนดมาตรการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากภายนอกมาเป็นการใช้พลังงานสะอาด เช่น การจัดทำโครงการ Solar Rooftop และ Floating Solar Cell เป็นต้น
จัดทําโครงการ Solar Rooftop และ Floating Solar Cell ปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพน้ำดิบ
เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พลังงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน
เข้าร่วมโครงการ Care the Bear ของ ตลท.
จัดทำโครงการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทางธุรกิจ
กำหนดมาตรการควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้า

5. ความหลากหลายทางชีวภาพ

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
ดูแลและปกป้องรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ (น้ำ ดิน อากาศ) ที่อาจได้รับผลกระทบจากการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ จัดทําตะแกรงปิดบริเวณด้านหน้าท่อสูบน้ำดิบ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาและสัตว์น้ำเข้าสู่กระบวนการผลิต หากบริษัทฯ บริหารจัดการความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพไม่เหมาะสมและไม่ครอบคลุมผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ อาจส่งผลกระทบต่อความขาดแคลนทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงอาจเกิดข้อขัดแย้งในการแย่งชิงการใช้ทรัพยากรในอนาคต หากบริษัทฯ บริหารจัดการความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลให้ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ลดลงหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
นําน้ำเหลือทิ้งจากขั้นตอนการรีดตะกอนกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำประปาใหม่ เพื่อป้องกันการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา
จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการดูแลอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนและคูคลองสาขา
จัดทำโครงการฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองบางซื่อ เพื่ออนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน
ติดตามผล โครงการ 1 ล้านกล้า สร้างป่าต้นน้ำ
จัดทําโครงการปุ๋ยหมัก รักษ์ดิน รักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อลดปริมาณของเสียที่นำไปกำจัด
จัดทำโครงการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ
ควบคุมการเกิดมลพิษทางอากาศในกระบวนการผลิต

6. ความร่วมมือดูแลสิ่งแวดล้อมระหว่างองค์กร

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
สร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานภายนอกแบบบูรณาการ จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการดูแลอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน และคูคลองสาขา ร่วมกับ ชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีนนครปฐม หากขาดความร่วมมือดูแลสิ่งแวดล้อมระหว่างองค์กร อาจส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการดําเนินธุรกิจในระยะยาว ความร่วมมือในการดูแลปกป้องสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน จะส่งผลต่อความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจและการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
จัดกิจกรรมติดตามผล โครงการ 1 ล้านกล้า สร้างป่าต้นน้ำ ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
จัดทําโครงการปุ๋ยหมัก รักษ์ดิน รักษ์สิ่งแวดล้อม ร่วมกับ คณะสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จัดทำโครงการฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองบางซื่อ เพื่ออนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ร่วมกับ เทศบาลเมืองไร่ขิง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 5 และ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ
ดูแลและเฝ้าระวังแหล่งน้ำร่วมกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 5 การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค หน่วยงานเอกชน และชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีนนครปฐม

7. การปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม

รายละเอียด วิธีการ ความเสี่ยง โอกาส
กําหนดนโยบายและดําเนินงานตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001:2015 ทบทวนนโยบายคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ สร้างความตระหนักควบคู่กับการดูแลระบบและปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนปฏิบัติด้วยสามัญสํานึก
ทบทวนวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ และปฏิบัติตามตัวชี้วัดที่กําหนด
ตรวจติดตามภายใน (Internal Audit ISO 14001:2015) การดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

เป้าหมายและผลการดําเนินงาน

บริษัทฯ นำนโยบายด้านการพัฒนาความยั่งยืนมากำหนดประเด็นความยั่งยืนและเป้าหมายด้านการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนขององค์กร โดยทำการวิเคราะห์และกำหนดประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 23 ประเด็นความยั่งยืน ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) จำนวน 15 เป้าหมาย จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด และผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ/บรรษัทภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยแสดงข้อมูลไว้ในรายงานประจำปี 2566 (แบบ 56-1 One Report) www.ttwplc.com